Channel Weed Thailand

420PRODUCTION.CO.,LTD

ต่อต้านกัญชา เพิ่มปัญหาสังคม

1 min read
ต่อต้านกัญชา เพิ่มปัญหาสังคม

ต่อต้านกัญชา เพิ่มปัญหาสังคม

ต่อต้านกัญชา เพิ่มปัญหาสังคม ตัดอนาคตของชาติ

รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า กระแสโจมตีบิดเบือนกัญชาในปัจจุบันกำลังฉุดประเทศไทยให้ถอยหลังจากโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ รวมถึงสร้างอนาคตที่ไม่ปลอดภัยให้กับเยาวชน โดยเฉพาะการเสพติดสุรา-กาแฟ-บุหรี่ ซึ่งอัตราเสพติดมากกว่า 2-3 เท่า แต่กลับเป็นสิ่งถูกกฎหมายที่สังคมนิ่งเฉย

“วาทกรรมโจมตีกัญชา ทั้งการพูดซ้ำๆ ตอกย้ำบ่อยๆ อาจจะทำให้หลายคนหลงเชื่อ คล้อยตาม โดยไม่พิจารณาความจริงที่รอบด้าน โดยเฉพาะเรื่องกัญชาทำลายสมองเด็ก เป็นอันตรายต่ออนาคตของชาติ ทั้งที่งานวิจัยให้คำตอบตรงกันข้าม กัญชาช่วยลดการติดยาเสพติด กัญชาปกป้องสมอง และกัญชาเสรีช่วยลดปัญหาสังคมได้อีกด้วย”

รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์

รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ ระบุอีกว่า กัญชาช่วยลดการสูบบุหรี่และยาเสพติดอื่นๆ บทเรียนจากต่างประเทศพบว่ากัญชามีฤทธิ์เสพติด “น้อยกว่า” และเทียบไม่ได้เลยกับ กับ “บุหรี่” และ “สุรา” ซึ่งพบว่ากัญชาเสพติดน้อยกว่า 2-3 เท่า โดยมีเยาวชนจำนวนมากที่เติบโตมากับการลิ้มลองสุราและบุหรี่ จนต้องกลายเป็นลูกค้าของบริษัทขายบุหรี่และสุราไปตลอดชีวิต 

ประกอบกับผลสำรวจพบว่าหลังจากปลดล็อกกัญชาเสรีในต่างประเทศเยาวชน “สูบบุหรี่ลดลง” “ดื่มสุราลดลง” และ “ใช้สารเสพติดอื่นๆ ลดลง โดยเฉพาะงานวิจัยที่ระบุว่า คนที่ติดบุหรี่ เมื่อนำกัญชามาใช้ทดแทน สามารถ “ลดหรือเลิกบุหรี่” ได้สูงถึง 74% ปัจจุบันมีเยาวชนไทยเสพติดบุหรี่สูงถึง 9.4 แสนคน ซึ่งยังไม่นับรวมผู้ใหญ่ไทยอีก 7.8 ล้านคน แต่สังคมกลับนิ่งเฉยไม่เหมือนกับกรณีกัญชา บทเรียนจากต่างประเทศพบว่า เยาวชนมีแนวโน้มจะลองใช้กัญชามากขึ้นอยู่แล้ว ตั้งแต่ “ก่อน” การแก้กฎหมายยาเสพติด

รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กัญชาไม่ได้ทำลายสมอง แต่มีสรรพคุณปกป้องสมอง การันตีด้วยงานวิจัยพิสูจน์จำนวนมาก เรื่อง ผลของกัญชาต่อสมองด้วยเครื่องสแกนสมองแม่เหล็กไฟฟ้า จำนวน 16 งานวิจัย พบว่า กัญชาไม่ได้ทำลายสมอง เด็กที่ใช้กัญชามีโครงสร้างของสมอง “ไม่แตกต่าง” จากเด็กที่ไม่ได้ใช้กัญชา งานวิจัยของนักวิจัยประเทศอังกฤษร่วมกับนักวิจัยของประเทศสหรัฐอเมริกา ติดตามเด็กคู่แฝด จำนวน 1,989 คู่ คนหนึ่งใช้กัญชา อีกคนไม่ได้กัญชา พบว่า สติปัญญา (IQ) และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ (EF) “ไม่แตกต่างกัน อีกทั้งการรวบรวมผลงานวิจัยมากกว่า 1,000 ชิ้น พบว่า การใช้กัญชาระหว่างตั้งครรภ์ “ไม่มีผลต่อสมอง” ของเด็กที่เกิดมา

ดังนั้น งานวิจัยเรื่องที่สรุปว่า “กัญชาทำลายสมอง” มักจะมีอคติ เพราะไม่ได้วิเคราะห์โดยขจัดอิทธิพลของตัวแปรกวน เช่น การใช้เหล้า บุหรี่ ยาเสพติดอื่นๆ และปัญหาในครอบครัว ออกไปก่อน นอกจากนี้ กัญชารักยังษาสมองของเด็กได้อีกด้วย จากข้อมูลของผู้อำนวยการศูนย์บริการและการศึกษาด้านกัญชาทางการแพทย์ ที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา บรรยายว่า ยากัญชาใช้รักษาโรคที่เกิดกับเด็กได้หลายโรค และได้ผลดี รวมทั้งโรคทางสมอง

รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด อาจเป็นผลเสียต่อประชาชนมากกว่าประโยชน์ เมื่อจากโฒเดลประเทศแคนาดาในสมัยที่ยังให้กัญชาถูกกฎหมายแค่เชิงการแพทย์ พบว่า การหายากัญชาแบบถูกกฎหมายมารักษาลูกนั้น “ยากมาก” และราคาก็ “แพงมาก” น่าจะคล้ายกับสถานการณ์ในประเทศไทยในปัจจุบันที่แพทย์ส่วนใหญ่ไม่จ่ายยากัญชา หลายประเทศจึงแก้กฎหมาย เปิดเสรีกัญชาเพราะตระหนักถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการสร้างภาพกัญชาให้เป็นปิศาจร้ายจึงไม่เป็นผลดีต่อสังคม ไม่ต่างจากการ หวังดี แต่ ประสงค์ร้าย นั่นเอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *