Channel Weed Thailand

420PRODUCTION.CO.,LTD

ปั้นข้อมูลเท็จ ด้อยค่าปุ๊น ‘อ.ปานเทพ’ เจาะลึก-จับโป๊ะ รัฐหลอกประชาชน

1 min read

จากกรณีที่กลุ่มหมอการเมืองและกลุ่มเยาวชนบังหน้า อ้างข้อมูลปุ๊นซึ่งเข้าข่ายการบิดเบือน โดยการยึดข้อมูลเดิมซ้ำๆมาท่องคาถาโจมตีสายเขียว ดร.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยกับสำนักข่าวผู้จัดการว่า กระทรวงสาธารณสุขและนายกรัฐมนตรีมี “ธงทางการเมือง” ที่จะนำปุ๊นกลับไปเป็นยาเสพติดอีกครั้ง โดยมีการ “เลือกข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและไม่รอบด้าน“ เพื่อที่จะใช้เป็นเหตุอ้างเพื่อดำเนินการตามใบสั่งนักการเมือง โดยไม่ได้มีการพิจารณาหรือหักล้างข้อขัดแย้งทางวิชาการจากทุกภาคส่วนให้เป็นที่ยุติเสียก่อน อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขาดกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและทางวิชาการอย่างรอบด้าน ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ขาดความรอบคอบต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยพบข้อมูลสรุปสาระสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
.

(1) ประการแรก ไม่คำนึงถึงประเด็นการใช้ฐานข้อมูลปัจจุบันผิดพลาดว่าผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นหลังปลดล็อกปุ๊นออกจากยาเสพติด เพราะมีการนำไปเปรียบเทียบกับช่วงเวลาการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ “ผิดปกติ”

(2) ประการที่สอง ไม่คำนึงถึงกรณีผู้ที่มีอาการยาบ้าและยาเสพติดอื่นๆ แต่แอบอ้างรายงานเท็จว่าใช้ปุ๊น

(3) ประการที่สาม ไม่คำนึงถึงประเด็นผลกระทบปุ๊นในการช่วยลดปัญหายาเสพติดที่รุนแรง (Harm Reduction) รวมถึงการลดการดื่มแอลกอฮอล์และลดการสูบบุหรี่

(4) ประการที่สี่ ไม่คำนึงถึงประเด็นการใช้ปุ๊นเพื่อลดยาจิตเวช หรือเป็นจิตเวชจึงหันมาใช้ปุ๊นกันแน่

(5) ประการที่ห้า ไม่คำนึงถึงเหตุปัจจัยระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำของเด็กเยาวชนที่มาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเรื่องส่วนตัวจึงใช้ปุ๊นหรือไม่?
.

ประการแรก มีการบิดเบือนข้อมูลนำหลังการปลดล็อกปุ๊นตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ต่อเนื่องถึงปี 2567 โดยอ้างว่าหลังปลดล็อกแล้วจำนวนผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นก็ดี เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้อง ดังตัวอย่างเช่น การอ้างว่าในปี 2566 มีผู้ป่วยที่เข้ารับบริการด้านจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับปีก่อนปลดล็อกปุ๊นในปี 2564
แต่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำรายงานจากรมสุขภาพจิตพบความจริงว่าในปีงบประมาณ 2566 มีผู้รับบริการด้านจิตเวชประมาณ 2.9 ล้านคน ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2562 ซึ่งเป็นปีเริ่มเข้าสู่โควิด-19 คือประมาณ 2.8 ล้านคน และน้อยกว่าปี 2561 ด้วย นอกจากนี้ฐานข้อมูลของ HDC กระทรวงสาธาณสุขระหว่างปีงบประมาณ 2564-2567 ระบุว่าผู้มารับบำบัดและฟื้นฟูยาเสพติดในปีงบประมาณ 2564 เฉลี่ยต่อเดือน 14,647 ราย, ปีงบประมาณ 2565 เฉลี่ยต่อเดือน 10,514 ราย, ปีงบประมาณ 2566 เฉลี่ยต่อเดือน 13,883 ราย และ 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 เฉลี่ย 10,789 ราย แปลว่าสถิติผู้มารับการบำบัดและฟื้นฟูยาเสพติดปี 2564-2567 ลดลงเรื่อยๆหลังการปลดล็อคปุ๊น โดยจากสถิติของข้อมูลการบำบัดรักษายาเสพติดในประเทศไทย ผู้ที่เข้าบำบัดรักษามากถึงร้อยละ 75 คือ “ยาบ้า” ในขณะที่ปุ๊นมีผู้เข้ารับการบำบัดเพียงประมาณร้อยละ 4 ซึ่งมันก็ชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว
.
ประการที่สอง : แอบอ้างรายงานเท็จ ::: โดยนับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นวันปลดล็อกปุ๊นออกจากบัญชียาเสพติด ได้เป็นผลทำให้ผู้ที่มีอาการต่างๆจากการใช้ยาเสพติดอื่นจนต้องเข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาล เช่น ยาบ้า ยาอี เฮโรอีน ฯลฯ และมีการแอบอ้างว่ามีอาการเพราะใช้กัญชา เพื่อเป็นการเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยมีการสำรวจกรณีศึกษาโรงพยาบาล 18 แห่งในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน โดยในจำนวนที่อ้างว่าได้รับผลกระทบจากปุ๊น172 ราย พบว่ามีการส่งตรวจหาปุ๊นเพียงร้อยละ 36 เท่านั้น ในขณะที่ผู้ที่ถูกนำส่งในการตรวจกลับพบสารปุ๊นเพียงร้อยละ 40.3 ของจำนวนที่ตรวจเท่านั้นด้วย[4] ซึ่งมีความหมายว่า “ส่วนใหญ่” ของผู้ที่อ้างว่าใช้ปุ๊นเป็นข้อมูลเท็จ และทำให้ร้ายต่อปุ๊นเกินสถานการณ์จริงไปอย่างมาก
.
ประการที่สาม :: งานวิจัยพบความจริงว่า“กัญชา”เป็นสมุนไพรที่ทำให้เกิดการเสพติดยากกว่าเหล้าและบุหรี่ โดยมีความน่าจะเป็นในการติดกัญชาอยู่เพียงระดับ “กาแฟ”เท่านั้น ในขณะที่สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime) ได้รายงานว่ามีประชากรในโลกที่อายุ 15-64 ปีมีผู้ใช้สารเสพติดมากถึง 284 ล้านคน แบ่งเป็นการใช้ปุ๊นมากถึง 209 ล้านคน(ร้อยละ 73.59), รองลงมาอันดับที่สองคือกลุ่มฝิ่นหรือโอปิออยด์ 61 ล้านคน (ร้อยละ 21.48), ยาบ้า 34 ล้านคน (ร้อยละ 11.97), โคเคน 21 ล้านคน(ร้อยละ 7.39) ซึ่งจากกลุ่มผู้ใช้ทั้งหมด มีสาเหตุการเสียชีวิตสูงที่สุดในโลกกลับเป็นยากลุ่มฝิ่นหรือโอปิออยด์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77, ยาบ้ามีสัดส่วนร้อยละ 7 และปุ๊นมีสัดส่วนการเสียชีวิตน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 4
.
ประการที่สี่ :: การอ้างว่าปลดล็อคปุ๊นแล้วมีผู้ป่วยโรคจิตเพิ่มขึ้นนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน ที่ไม่เอาปัจจัยสำคัญอย่างปัญหาวิด-19 มาเป็นตัวชี้วัด เนื่องจากช่วงเวลา Lockdown โควิดส่งผลให้คนเกิดความเครียดเยอะจนต้องบำบัดทางจิตเพศ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่สาเหตุมาจากปุ๊น เมื่อดูผลการศึกษาในประเทศไทย ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2566 พบว่า ความชุกของการปัญหาสุขภาพจิตหลังติดเชื้อโควิด-19 พบความเครียดร้อยละ 46.3 ภาวะวิตกกังวลร้อยละ 10.3 ภาวะซึมเศร้าร้อยละ 10.5 และนอนไม่หลับร้อยละ 35.8 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดปัญหาสุขภาพจิตหลังติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ การว่างงานมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเครียดและภาวะวิตกกังวล และอายุมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะนอนไม่หลับ ในขณะที่เด็กและเยาวชนไทย มีปัญหาสุขภาพจิตและมีความเครียดมากขึ้น โดยข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตตนเอง ของกรมสุขภาพจิต ปี 2566 พบว่าเยาวชนร้อยละ 18 มีความเครียดสูง เสี่ยงตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าร้อยละ 26 และเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายร้อยละ 12.5
.
ประการที่ห้า :: รัฐไม่คำนึงถึงเหตุปัจจัยระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำของเด็กเยาวชนที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเรื่องส่วนตัวจึงใช้ปุ๊นหรือไม่….เมื่อความจริงปรากฏว่าเด็กและเยาวชนจำนวนหนึ่งมีปัญหาทางสุขภาพจิตจากภาวะความเครียด ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว หรือปัญหาส่วนตัวจึงมีโอกาสที่จะมีคนบางกลุ่มฝ่าฝืนกฎหมายขายสุรา ขายบุหรี่ ขายกัญชา ขายยาบ้า หรือหรือยาเสพติดอื่นๆให้กับเด็กและเยาวชนได้
อย่างไรก็ตามเมื่อติดตามผลการศึกษาในมลรัฐโคโรลาโด ประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการเปิดการปุ๊นสันทนาการให้เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายมาหลายปี ก็มีปัญหาในลักลอบการใช้ปุ๊นในเยาวชนเพิ่มขึ้นอยู่ดี หากแต่ผลการศึกษาอีกด้านกลับพบว่าเด็กเยาวชนดื่มสุราลดลง สูบบุหรี่ลดลง และลดการใช้ยาเสพติดที่รุนแรงอื่นๆลดลง มีการจบการศึกษามากขึ้นและตกออกน้อยลง ย่อมแสดงว่าปุ๊นอาจจะไม่ได้ทำให้ระดับสติปัญญาลดลงเสมอไปเหมือนกับที่เกิดขึ้นกับงานวิจัยจำนวนมากก็ได้

ดร.ปานเทพกล่าวทิ้งท้ายว่า เมื่อข้อมูลการนำเสนอตัวอย่างข้างต้น มีความแตกต่างสวนทางกับข้อมูลที่รัฐกล่าวอ้างเพื่อออกกฎควบคุมแล้ว ดังนั้นควรทบทวนและแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงทางวิชาการเพื่อหาข้อยุติให้เสร็จสิ้นเสียก่อน และในความจริงแล้วการแก้ปัญหาด้วยการตราพระราชบัญญัติในการใช้ประโยชน์และควบคุมปุ๊นเป็นการเฉพาะจะมีความยืดหยุ่นให้สามารถปฏิบัติได้จริงได้ดีกว่าการนำปุ๊นกลับไปเป็นยาเสพติดอีกครั้ง

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *