ตามหา ’ช้างเผือก‘ สายพันธุ์ไทยดึกดำบรรพ์ Landrace สุดหายาก
1 min read
สุภาษิตไทยกล่าวไว้ว่า ‘ช้างเผือกมักอยู่ในป่าลึก‘ นอกจากจะหายากแล้วยังมีต้องเป็นมีบุญบารมีถึงจะเจอ เช่นเดียวกับสายพันธุ์โบราณไทยหายากนี้ ‘ช้างเผือก‘ คือมรดกกัญชาไทยที่ตกทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ Siam Landrace ฟีโนไทป์ตัวเด็ดที่ถูกเก็บไว้ในป่าลึกมายาวนานกว่า 50 ปี
อาจารย์ เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิขวัญข้าว ได้เล่าถึงสายพันธุ์ “ช้างเผือก” บ้างเรียกว่า “เอราวัณช้างเผือก” นั้นว่ากว่าจะได้มาต้องบุกเข้าไปในป่าลึกไปถึงหมู่บ้านไกลสูดกู่ริมภูเขา นั่งเรือเป็นชั่วโมงๆ ฝ่าสายน้ำลึกเข้าไปในเขตที่หมู่บ้าน ‘องหลุ’ จ.กาญจนบุรี ซึ่งชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านนี้ ปลูกกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ มาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษยาวนานมากกว่า 50 ปี โดยมีสายพันธุ์ไทยพื้นถิ่นอย่างสายพันธุ์ “ช้างเผือก” เป็นพันธุ์พื้นบ้าน เรียกเป็นภาษากะเหรี่ยงว่าพันธุ์ “ช่องวา” ลักษณะมีขนาดลำต้น สูงใหญ่กว่าพันธุ์อื่นๆ (จึงเรียกว่า”ช้าง“) และมีช่อดอก คล้ายงวงช้าง แถมมีเทอร์พีนที่กลิ่นหอมฉุยพร้อมอาการหนักหน่วง เป็นสายพันธุ์กัญชาเก่าแก่ดั้งเดิมมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า เติบโตได้ดีในป่าลึกกลางร่องเขาที่มีความชื้น อากาศหนาวยามเช้าและแสงแดดที่เหมาะสม
ซึ่งสายพันธุ์กัญชาช้างเผือกนี้ชาวบ้านกะเหรี่ยงชอบมาก ทั้งผลผลิตที่เยอะและเอฟเฟคต์แบบตึงๆ ที่นำมาเติมได้แบบไม่เปลือง และที่พิเศษกว่าพันธุ์อื่นๆอีกอย่าง คือ แม้จะสูบจนล่องลอย แต่จะไม่มีผลเสียอาการข้างเคียงเหมือนสายพันธุ์กัญชาอื่นๆ เช่น ปวดหัว ตาแฉะ เป็นต้น การปลูกท่ามกลางธรรมชาติแบบนี้นำไปสู่ภูมิปัญญากัญชาดั้งเดิมที่มีวัฒนธรรมร่วมรากกับคนไทยมายาวนาน โดยชาวกะเหรี่ยงโบราณจะปลูก ”กัญชา“ พร้อมกันไปกับข้าวไร่ ในฤดูฝนราวเดือน 7-8 ลงเม็ดพร้อมข้าวไร่ เพื่อใช้กัญชาช่วยป้องกันเพลี้ยไม่ให้ลงข้าว แบ่งปลูกบ้านละ 4-5 ต้นเพื่อให้มีผลผลิตเพียงพอในการเติมตลอดทั้งปี
เทคนิคการปลูกวิถีธรรมชาติที่น่าสนใจของชาวบ้านองหลุ คือ 1. วิธีสังเกตุเพศนั้นให้ดูที่ต้นอ่อนตอนแตกออกจากเมล็ด ถ้าต้นแดงเป็นตัวเมีย 90 % ถ้าต้นเขียวเป็นตัวผู้ 2. ตอนจะเก็บช่อดอกต้องสังเกตุเปลือกเมล็ดถ้าเหลืองสุดยอด ไม่อมน้ำค้างจะถึงเวลาเก็บได้ 3.การเก็บเกี่ยวในตอนเช้าจะได้ยางกัญชาที่มีฤทธิ์แรงกว่าการเก็บเกี่ยวในเวลากลางวัน 4.ปุ๋ยทุกอย่างใช้จากวัตถุดิบอินทรีย์ธรรมชาติ เช่น ขี้เถ้า ขี้ข้างคาว และดินกอไผ่
นอกจากสายพันธุ์กัญชาพื้นถิ่นอย่างช้างเผือกแล้ว ชาวกระเหรี่ยงที่หมู่บ้านองหลุ ยังมีการปลูกสายพันธุ์กัญชาไทยแท้เก่าแก่อื่นๆอีกด้วย เช่น สายพันธุ์ฝอยทอง เรียกชื่อตามภาษาไทยกลาง พันธุ์นี้คำกะเหรี่ยงไม่มีเรียกสมัยรุ่นปู่ย่านอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์กัญชาก้านยาวและสายพันธุ์กัญชาเกริงกระเวียที่คนในหมู่บ้านใช้ปลูกอีกด้วย ปัจจุบันสายพันธุ์กัญชาช้างเผือกนั้นได้ถูกนำออกมาจากป่าลึกเพื่อแจกจ่ายและขยายพันธุ์-พัฒนาเป็นสายพันธุ์ไฮบริดใหม่เพื่อใช้ในการทำยาแจกจ่ายผู้ป่วย ซึ่งผู้พัฒนาก็คือ อาจารย์เดชา นั่นเอง