วิจัยชี้ชัด! ปลูกกลางแจ้งช่วยเพิ่มกลิ่นเทอร์พีน
1 min read
การปลูกพืชแบบดั้งเดิมของไทย- แสงแดดที่สม่ำเสมอตลอดปี-ภูมิปัญญาปุ๋ยอินทรีย์ กำลังกลายเป็นขุมสมบัติด้านเทอร์พีนของพืชกัsชา ซึ่งศาสตราจารย์ ดร. Pepper Hernandez ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาเพื่อสุขภาพ เปิดเผยว่า งานวิจัยล่าสุดค้นพบการปลูกที่ให้คุณภาพกลิ่นหอมของเทอร์พีนได้มากที่สุดคือดอกไม้ที่ปลูกโดยใช้แสงแดดจริง-ใช้ปุ๋ยออแกนิก และปลูกท่ามกลางสภาพแวดล้อมจากธรรมชาติ ซึ่งกุญแจสำคัญของการเพิ่มกลิ่นเทอร์พีนคือแสงแดดธรรมขาติและการให้ปุ๋ยอินทรีย์จากวัตถุดิบธรรมชาติเช่นพวกกลุ่มน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น
ศาสตราจารย์ ดร. Pepper อธิบายเพิ่มเติมว่า กัsชาที่ปลูกภายใต้แสงแดดมีแนวโน้มที่จะพัฒนาความซับซ้อนและความชัดเจนของเทอร์พีนได้มากกว่า ส่งผลให้กัsชาสะท้อนถึงศักยภาพทางพันธุกรรมได้ดีกว่า เนื่องมาจากพืชได้รับแสงแดดธรรมชาติ จุลินทรีย์ในดินที่หลากหลาย และปริมาณสารเคมีที่ลดลงทำให้ผู้บริโภคได้ประสบการณ์รสชาติที่แท้จริงและเข้มข้นยิ่งขึ้น การปลูกลักษณะนี้ส่งเสริมความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชและสิ่งแวดล้อมซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะช่วยเพิ่มกลิ่นของเทอร์พีนได้จริง
ขณะที่ด้านสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (อังกฤษ: National Institutes of Health) เผยแพร่ผลวิจัยตีพิมพ์ยืนยันว่าการปลูกแบบ Outdoor และใช้แสงแดดจริง ให้ผลผลิตที่มีกลิ่นเทอร์พีนเข้มข้นมากกว่าการปลูก Indoor ในแทบจะทุกกลุ่มของกลิ่นเทอร์พีน (ตามกราฟในรูป) โดยงานวิจัยดังกล่าวทำการทดลองการปลูกทั้งสองแบบแล้วพบว่า การปลูกภายใต้แสงแดด (ตามธรรมชาติ) มีสารแคนนาบินอยด์ที่ออกซิไดซ์น้อยกว่าและมีความเข้มข้นของกลิ่นเทอร์พีนมากกว่าการปลูกในร่มภายใต้แสงแดดเทียมจากไฟปลูก ยิ่งไปกว่านั้นค่าความเข้มข้นของเทอร์พีนจาก Outdoor ยังมากกว่ากลุ่มเทอร์พีนจาก Indoor แทบจะทุกประเภท โดยเฉพาะกลุ่มเทอร์พีน β-caryophyllene, α-humulene, α-bergamotene, α-guaiene และ germacrene B เมื่อเทียบกับการปลูกในร่มแบบ Indoor
ด้านนักปลูกอาวุโสผู้เชี่ยวชาญด้านปลูกกัsชาในไทยมากกว่า 30 ปี เปิดเผยกับ Channel Weez Thailand ว่า ผมปลูกกัsชามาหลายประเทศ แต่ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบคือความคงที่ของอุณหภูมิและแสงแดดตลอดทั้งปี ประเทศไทยมีอุณหภูมิคงที่ (ร้อนทั้งปี) แตกต่างจากต่างประเทศที่อุณหภูมิแปรปรวนทั้งหนาวจัดร้อนจัด ดังนั้นปลูกในไทย เขาจึงทำผลผลิตกัญชาได้มากถึงปีละ 7 คร็อป หรือตัดต้นทุก 50 วัน ไม่มีประเทศไหนที่ผลิตได้มากเท่านี้ การปลูกโดยแดดไทยเพียง 10 วัน ก็ทำให้ต้นพืชที่สูงกว่าปลูกที่ประเทศอื่นๆแล้ว
อีกหนึ่งข้อได้เปรียบคือวัตถุดิบปลูกอย่าง “ปุ๋ยออแกนิก” เจ้าของฟาร์มเปิดเผยเรื่องที่น่าสนใจว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตปุ๋ยออแกนิกที่ดีสุดในโลก แบรนด์ปุ๋ยอินทรีย์ Top 10 ของโลกกว่า 80% นำเข้าวัตถุดิบทำปุ๋ยจากไทย โดยเฉพาะพวก ตอซังข้าว กากน้ำตาล ขลุยมะพร้าว และมูลสัตว์ เป็นต้น เป็นวัตถุดิบที่หาได้จากธรรมชาติและมีราคาถูก ภูมิปัญญาความรู้การใช้ปุ๋ยออแกนิกของคนไทยไม่ธรรมดา หลายคนเป็นอาจารย์สอนให้ฝรั่งนักปลูกพืชทั่วโลกต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมามาเรียนรู้ที่นี่